คิดอย่างบัณฑิต
การประเมินผล
- Evaluation
โดย บัณฑิต
ดาแว่น
การประเมินผล เป็นกระบวนการหนึ่งในการบริหาร หากขาดการประเมินผล ย่อมสุ่มเสี่ยงที่จะผิดพลาด
ทั้งการผิดพลาดเรื่องใหม่ และผิดพลาดซ้ำรอยเดิม (อย่างไม่จำเป็น)
การประเมินผลยังมีความจำเป็น เพราะจะช่วยให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
จะประเมินผลอย่างไรจึงจะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่องานและคนทำงาน ? ในทางวิชาการมีเครื่องมือหลายอย่างที่ช่วยให้การประเมินผลเป็นไปอย่างมีทิศทาง
ซึ่งขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละองค์กร แต่ละสถานการณ์
ที่จะนำเครื่องมือการประเมินผลมาใช้
การทำพันธกิจของพระเจ้า จำเป็นต้องมีเครื่องมือที่เหมาะสมมาใช้ประเมินผลเช่นกัน
เพื่อจะช่วยให้บรรลุตามนิมิต วัตถุประสงค์อย่างสูงสุด
โดยไม่ส่งผลร้ายกระทบต่อทั้งคนและงานโดยไม่จำเป็น อันเนื่องมาจากการประเมินผลที่ไม่เหมาะสม เช่น หลายครั้งมุ่งประเมินเฉพาะผลของการดำเนินงานด้านปริมาณ
โดยนับจำนวนผู้เชื่อเป็นหลัก จึงไปกดดันคนทำงาน(ผู้รับใช้) และด่วนสรุปว่าผู้รับใช้ทำงานไม่เกิดผล
ทำให้เกิดความท้อใจ ทำให้หลายคนหยุด เลิก ลาออก หรือหมดไฟไปเลย
หรือไม่ก็ประเมินแบบสุดโต่งโดยโยนทุกอย่างไปที่การขัดขวางของมาร
โดยไม่สนใจรายละเอียดอย่างแท้จริง เป็นต้น
ขอเสนอแนวคิดเพื่อประเมินผลการรับใช้ในพันธกิจของพระเจ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งพันธกิจคริสตจักร องค์กร หน่วยงาน หรือโครงการพันธกิจต่างๆ
ควรมีหลักการประเมินผลห้าด้าน ได้แก่ หนึ่ง ด้านวัตถุประสงค์ของพันธกิจ สอง ด้านวิธีการดำเนินงาน สาม ด้านพื้นที่ สี่ ด้านผู้ปฏิบัติงาน และ ห้า ด้านสงครามฝ่ายวิญญาณ
ควรมีหลักการประเมินผลห้าด้าน ได้แก่ หนึ่ง ด้านวัตถุประสงค์ของพันธกิจ สอง ด้านวิธีการดำเนินงาน สาม ด้านพื้นที่ สี่ ด้านผู้ปฏิบัติงาน และ ห้า ด้านสงครามฝ่ายวิญญาณ
1. ด้านวัตถุประสงค์ของพันธกิจ
การประเมินผลโดยคำนึงถึงวัตถุประสงค์นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง
เพราะวัตถุประสงค์เป็นตัวชี้วัดถึงสิ่งที่ต้องการตั้งแต่เริ่มต้น สำหรับพันธกิจของพระเจ้าอาจเปรียบเหมือนนิมิต
เป้าหมาย นั่นเอง
ทั้งนี้จะต้องมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน
เจาะจง สามารถวัดได้ ปฏิบัติได้ และให้เวลาที่เหมาะสมตั้งแต่เริ่มต้นเสียก่อนจึงจะนำมาเป็นประเด็นในการประเมินผลพันธกิจ เปรียบเสมือนการยิงธนูที่มีเป้าหมายอยู่ก่อนแล้ว
ไม่ใช่ยิงออกไปแล้วค่อยวาดเป้าหมายทีหลัง
เช่น
มีวัตถุประสงค์ประกาศข่าวประเสริฐโดยการแจกใบปลิวในเขตอำเภอเมืองทุกสัปดาห์ภายในปี
2019 ก็จะสามารถประเมินผลออกมาได้ว่า
ผู้รับผิดชอบได้ทำตามวัตถุประสงค์หรือไม่และมีผลลัพธ์อย่างไร
จำเป็นต้องดูเบื้องต้นก่อนว่าได้ประเมินผลงานตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่
และอาจดูต่อไปได้ว่า มีวัตถุประสงค์ มีนิมิตที่ชัดเจนหรือไม่
เพราะหากไม่มีทิศทางคงไม่อาจคาดการณ์ได้ว่าจะเกิดผลกระทบอะไรบ้าง มักจะนำไปสู่ความล้มเหลวมากกว่า
ดังพระคัมภีร์ที่สอนว่า.. ที่ไหนที่ไม่มีการนำประชาชนก็ล้มลง แต่ในที่ซึ่งมีที่ปรึกษามากย่อมมีความปลอดภัย
(สุภาษิต
11.14,29.18)
ส่วนข้าพเจ้าวิ่งแข่งโดยมีเป้าหมาย ข้าพเจ้ามิได้ต่อสู้อย่างนักมวยที่ชกลม (1โครินธ์ 9.26)
2. ด้านวิธีการดำเนินงาน
หากวัตถุประสงค์ดี แต่วิธีการดำเนินงานไม่เหมาะก็ส่งผลให้งานนั้นล้มเหลวได้เช่นกัน ดังนั้น นอกจากดูวัตถุประสงค์ ดูนิมิต เป้าหมายของหน่วยงานต้นสังกัดและผู้ปฏิบัติงานว่าสอดคล้องกันแล้ว ยังต้องประเมินผลด้านวิธีการทำงานว่าเหมาะสมกับเป้าหมาย
ลักษณะงาน พื้นที่หรือลักษณะกลุ่มเป้าหมาย
รวมทั้งยังต้องวิเคราะห์ว่าวิธีการดังกล่าวเหมาะกับผู้ปฏิบัติงาน
หรือแนวทางฝ่ายวิญาณหรือไม่เพียงใด
เช่น
หากต้องการแจกใบปลิวในพื้นที่ชนบทจำเป็นต้องสำรวจให้แน่ใจว่าจำนวนคนที่อ่านหนังสือออกมีเท่าไหร่
หรือหากจะแจกสื่อภาพและเสียง ก็ต้องทราบว่ามีเครื่องที่จะเปิดรับสื่อนั้นได้หรือไม่
หรือแม้แต่จะกระจายเสียงวิทยุ แพร่ภาพทางโทรทัศน์ ช่วงเวลาใด กับกลุ่มคนประเภทไหน
ด้วยข้อมูล และวิธีการรูปแบบใด ยังต้องคำนึงถึงในทุกด้าน มิฉะนั้นข่าวสารที่นำเสนอออกไปจะเป็นเพียงการสิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์
การกำหนดวิธีการที่เหมาะสม เปรียบเสมือนการเกาให้ถูกที่คัน
แก้ไขปัญหาอย่างถูกจุด
ไม่ใช่เหมือนคนที่หาลูกกุญแจในที่สว่าง
ทั้งที่มันหล่นอีกที่หนึ่งซึ่งมืดกว่า อย่างนี้หาเท่าไหร่คงไม่เจอ
พระคัมภีร์สอนไว้ว่า...หากขวานทื่อแล้ว จะต้องใช้แรงมาก ซึ่งหมายถึงใช้วิธีการที่ไม่เหมาะสม
ทำให้เสียแรงและนำไปสู่ความล้มเหลว แต่หากคิดให้ดี
ลับให้ขวานคมก็จะเบาแรงและนำไปสู่ความสำเร็จได้
ถ้าขวานทื่อแล้ว
และเขาไม่ลับให้คม
เขาก็ต้องออกแรงมาก
แต่สติปัญญาจะช่วยให้บรรลุความสำเร็จ (ปัญญาจารย์ 10.10)
แต่สติปัญญาจะช่วยให้บรรลุความสำเร็จ (ปัญญาจารย์ 10.10)
อาจารย์เปาโลเป็นต้นแบบที่ดีในการรู้จักปรับตัวให้เหมาะสมกับคนแต่ละประเภท
เพื่อจะช่วยเขาให้รู้จักพระเจ้า (1โครินธ์ 9.19-23) ท่านได้แนะนำว่า จงปฏิบัติกับคนภายนอกด้วยใช้สติปัญญา โดยฉวยโอกาส จงให้วาจาของท่านประกอบด้วยเมตตาคุณเสมอ ปรุงด้วยเกลือให้มีรส เพื่อท่านจะได้รู้จักตอบให้จุใจแก่ทุกคน (โคโลสี 4.5-6)
ดังนั้น ประเมินดูว่าวิธีการที่ใช้อยู่นั้นเหมาะสมหรือไม่
เพื่อจะมีการปรับเปลี่ยนอย่างเหมาะสมต่อไป
3. ด้านพื้นที่
คำอุปมาเรื่องการหว่านพืชที่ตกลงบนดินสี่ประเภท(มัทธิว 13.1-9,18-23)
เป็นตัวอย่างที่ดีที่อธิบายลักษณะของพื้นที่ในชีวิตของมนุษย์ได้อย่างครบด้าน ทั้งในส่วนที่เป็นดังพื้นถนน เมื่อเมล็ดพระวจนะตกลงไปแล้วไม่เกิดผลเพราะมีนกมาจิกกินไปหมดเสียก่อน
ดินที่มีหินก็เช่นกันแม้จะมีบางส่วนที่งอกโดยเร็วแต่ก็ตายเร็วเช่นกัน ดินที่มีหนามปกคลุมก็เป็นอุปสรรคที่มารบกวนทำให้การทำงานนั้นไม่ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย
แต่ดินดีสามารถทำให้เกิดผล สามสิบเท่า หกสิบเท่า ร้อยเท่า
ทุกคนที่ทำงานล้วนต้องการประสบความสำเร็จและอยากให้เกิดผลดีทั้งนั้น แต่การประเมินผลโดยไม่คำนึงถึงลักษณะของพื้นที่
ดังที่กล่าวมาอาจส่งผลเสียต่อทั้งงานและคนทำงาน
จึงควรพิจารณาให้ครบด้านว่า ได้ทำตามนิมิต ด้วยวิธีการที่เหมาะสม
และอยู่ในพื้นที่ที่เหมาะสมหรือไม่
หากทำอย่างดีแล้ว แต่พื้นที่ไม่เหมาะ
อาจจะต้องพิจารณาเปลี่ยนพื้นที่การทำงานเพื่อให้เกิดผลดีกว่าก็ต้องทำ
ไม่ใช่เปลี่ยนคนงานเท่านั้น
การประเมินพื้นที่อย่างเหมาะสมยังจะช่วยเลือกใช้คนและวิธีการที่เหมาะสมได้อีกด้วย
4.
ด้านผู้ปฏิบัติงาน
องค์ประกอบสำคัญที่จะให้งานประสบผลสำเร็จ คือ “คน” หรือ ผู้ปฏิบัติงาน
หรือ ผู้รับใช้ นั่นเอง จะต้องคัดคนที่เหมาะสมกับงาน เหมาะกับวิธีการ
เหมาะกับพื้นที่ตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อจะไม่ผิดหวังตั้งแต่ก่อนจะเริ่มงาน ยังต้องเข้าใจด้วยว่า
หลักการบริหารทั้งส่วนของ งาน เงิน วัสดุ และ คน นั้น การบริหารคน ถือเป็นเรื่องสำคัญและยากที่สุด การจะบังคับ ขู่เข็น ให้เป็นไปตามที่ผู้บริหารกำหนดทั้งหมดนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย
เพราะบุคลิก ลักษณะ นิสัย องค์ประกอบอื่น ๆ ทั้งภายในและภายนอก เบื้องหน้า
เบื้องหลัง ของแต่ละคนนั้นจะเปรียบเทียบหรือสรุปแบบเดียวกันไม่ได้
ผู้สื่อสารไม่ดีก็เอาคนจุ่มลงไปในความลำบาก
แต่ทูตที่ซื่อสัตย์นำการรักษามาให้ (สุภาษิต 13.17)
แต่ทูตที่ซื่อสัตย์นำการรักษามาให้ (สุภาษิต 13.17)
การใช้คนและประเมินคนอย่างเหมาะสมย่อมเป็นผลดีกว่า
5. ด้านสงครามฝ่ายวิญญาณ
ในฐานะคนและงานของพระเจ้า
หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะคำนึงถึงเรื่องฝ่ายวิญญาณ พระคัมภีร์เอเฟซัส 6.10-18 สอนว่า เพราะเราไม่ได้ต่อสู้กับสิ่งที่มองเห็น แต่กำลังต่อสู้กับเหล่าวิญญาณในสถานฟ้าอากาศ ดังนั้น จำเป็นจะต้องรู้คู่ต่อสู้ที่แท้จริงและใช้อาวุธที่เหมาะสม
จึงจะสามารถต่อกรกับศัตรูได้ มารซาตานมันคือ ผู้ขัดขวางตัวฉกาจ
เป็นม่านบังตาทำให้ผู้คนไม่เห็นความจริง ทำให้จิตใจคนหันเหจากทางของพระเจ้า มันใช้วิธี
รูปแบบต่าง ๆ นำคนออกนอกทางของพระเจ้า จึงกล่าวได้ว่าการงานที่ล้มเหลว
การไม่ประสบความสำเร็จ การไม่เกิดผล ความบาปชั่วทั้งปวงนั้น มีมารคอยบงการอยู่เบื้องหลัง... แต่...อย่าด่วนสรุปอย่างนี้ด้านเดียว
หากยังไม่ได้ประเมินด้านวัตถุประสงค์ วิธีการ พื้นที่ และคนทำงานควบคู่กันไปด้วย
เพราะจะทำให้เกิดความงมงายและมักง่ายเกินไปที่จะโยนความผิดทั้งปวงให้มารโดยไม่รับผิดชอบใด
ๆ ที่ควรกระทำ !
แต่หากประเมินมาแล้วและผลสรุปว่าเป็นเพราะปัญหาฝ่ายวิญญาณจริง
ก็ให้สู้ด้วยสงครามฝ่ายวิญญาณอย่างหนักแน่นต่อไป
แต่ถึงกระนั้นก็ยังไม่อาจละเลยในการใช้องค์ประกอบต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาแล้วได้ เพราะปัญหา อุปสรรค มักมีองค์ประกอบหลายด้านที่มีส่วนทำให้เกิดผลออกมาเช่นนั้น
ดังที่พระเยซูสอนสาวกกรณีคำถามเกี่ยวกับชายตาบอดว่ามีสาเหตุมาจากอะไร
...เมื่อพระองค์เสด็จดำเนินไปนั้น ทรงเห็นชายคนหนึ่งตาบอดแต่กำเนิด
และพวกสาวกของพระองค์ทูลถามพระองค์ว่า
“พระอาจารย์เจ้าข้า
ใครได้ทำผิดบาป
ชายคนนี้หรือบิดามารดาของเขา
เขาจึงเกิดมาตาบอด” พระเยซูตรัสตอบว่า “มิใช่ว่าชายคนนี้หรือบิดามารดาของเขาได้ทำบาป แต่เขาเกิดมาตาบอด เพื่อให้พระราชกิจของพระเจ้าปรากฏในตัวเขา (ยอห์น
9.1-3)
ทั้งนี้ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น
ทุกสิ่งยังอยู่ภายใต้การควบคุมของพระเจ้าเสมอ
เพราะว่าจำเป็นที่เราทุกคนจะต้องปรากฏตัวที่หน้าบัลลังก์ของพระคริสต์
เพื่อทุกคนจะได้รับสมกับการที่ได้ประพฤติในร่างกายนี้ แล้วแต่จะดีหรือชั่ว (2 เธสะโลนิกา
5.10)
ผู้รับใช้มีหน้าที่ทำงานอย่างสัตย์ซื่อ
รับผิดชอบอย่างเต็มที่ ส่วนการเกิดผลเป็นของพระเจ้า (1โครินธ์ 3.5-15)
(ขอบคุณภาพจากอินเตอร์เน็ต)