คิดอย่างบัณฑิต...ข้อคิดจากอิสราเอล
Hebron:เฮโบรน ที่ฝังคนของพระเจ้า
โดย บัณฑิต ดาแว่น
การไปเยือนอิสราเอลของคณะผู้นำสหคริสตจักรแบ๊บติสต์ในประเทศไทย
เมื่อ 4-10 พฤษภาคม 2019
ไกด์นำคณะของเราเข้าไปยังเมืองเก่าที่ชื่อว่า “เฮโบรน”
รถบัสสองคันยังนำเราเดินตามรอยพระคัมภีร์พร้อมด้วยคำอธิบายอย่างลึกซึ้งของมคุเทศท้องถิ่นเชื้อชาติยิวที่ย้ายมาจากสเปนตามแผนการระดมสรรพกำลังสร้างชาติของอิสราเอล ผมประทับใจความรู้
ความเข้าใจและวิธีการอธิบายของไกด์ที่ชื่อว่า “เดวิด” คนนี้อย่างยิ่ง แม้จะรู้สึกง่วงและเมารถจากทางที่แสนค้นเคี้ยว
“ขึ้นเขาลงเหว” อยู่ตลอดเวลา ที่บอกว่า “ลงเหว” เป็นคำที่อยากจะให้เข้าใจทันทีว่าสภาพภูมิประเทศของอิสราเอลนั้น
อยู่บนภูเขาที่สูงต่ำสลับกันไปมาตลอดเส้นทาง รถบัสต้องขึ้นลงและเลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวาแบบฉวัดเฉวียน
คิดว่าน่าจะมากกว่าการขับรถไปอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอนที่เล่าขานกันว่ามีสี่พันกว่าโค้งเป็นสองเท่านะครับ แม้จะหัวโยกหัวคลอน
แต่ยังสนุกกับคำสอนผ่านไกด์และล่ามกิตติมศักดิ์อย่าง ศจ.ดร.ประชา ไทยวัชรามาศ
ของพวกเราที่แปลเป็นสำนวนอีสานให้เราตื่นขึ้นมาตั้งใจฟังหลายครั้ง ผมใส่หูฟังภาษาอังกฤษข้าง
และอีกข้างฟังล่ามแปลเป็นไทย ได้ยินคำว่า “Valley”
Valley อยู่บ่อยครั้ง
จึงไม่ต้องสงสัยว่ามองไปที่ไหนก็มีแต่ภูเขาและหุบเขาอันเป็นที่ตั้งของเมืองต่างๆตลอดเส้นทาง
หลายคนถ่ายรูปและวีดีโอตามข้างทางตามการชี้แนะของไกด์
แต่พอกลับที่พักก็ยังจำไม่ได้ว่าที่ไหนเป็นที่ไหน เพราะดูเหมือนกันไปหมดคือมีภูเขาที่เต็มไปด้วยก้อนหิน
เห็นพุ่มมะกอกเทศ สวนองุ่นอยู่เหมือนกันทุกเส้นทาง ต้องขอชมรถขับรถที่ทำหน้าที่อย่างดีเยี่ยมแม้เขาต้องอดอาหารตามเทศกาล
แต่ก็นำเราไปถึงและกลับที่พักอย่างปลอดภัย แม้หลายคนอาจต้องขอใช้บริการถุงใส่อ๊วก
(อาเจียน) จากอาการเมารถไปบ้างแต่ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา เอาเป็นว่าการเดินทางที่คุ้มค่าคุ้มเวลา
คุ้มประสบการณ์กันถ้วนหน้า
รถบัสจอดที่ทางขึ้น
ผู้นำทัวร์แนะนำมาตลอดว่าระวังเด็กๆที่ขายของตามลานจอดรถด้วยนะ
เพราะอาจจะถูกล้วงกระเป๋าได้ ควรสะพายกระเป๋าไว้ด้านหน้าเสมอเพราะ “หากกระเป๋าอยู่ด้านหลัง
เป็นของคนอื่น แต่อยู่ด้านหน้าจึงจะเป็นของเรา” สังเกตดูพวกเด็กๆ
เขาก็หาทางเอาตัวรอดและมีวิธีตามขอจากนักท่องเที่ยวอย่างไม่ลดละ แม้ไม่รู้ภาษา
แต่ท่าทางก็เข้าใจได้ว่าต้องการเงิน สิ่งของหรืออาหาร ผมประทับใจที่เห็น ศจ.ดร.วินิจ
วงศ์สรรเสริญ ขึ้นมาหยิบขนมของท่านที่อยู่บนรถลงไปแจกเด็กเหล่านั้น
เมื่อเห็นคนหนึ่งได้อีกหลายคนก็กรูกันเข้ามาขอด้วย เป็นภาพยืนยันถึงหัวใจแห่งการประกาศกับผู้ยากไร้ที่ท่านทำในไทยอย่างต่อเนื่องด้วย
จากนั้นหลายคนหันไปสนใจขอถ่ายรูปกับทหารหญิงชาวยิวที่ยืนเฝ้ายามร่วมกับทหารชาย
แม้สถานการณ์บ้านเมืองตึรงเครียดแต่รอยยิ้มและมิตรภาพที่แสดงออกมานั้น ทำให้คณะของเราประทับใจทหารหญิงเหล่านั้นจนลืมความแข็งแกร่งที่เธอกำลังถืออาวุธสงครามไปเลย ได้รับคำอธิบายว่า คนยิวทุกคนอายุสิบแปดปีบริบูรณ์จะต้องเป็นทหารรับใช้ชาติโดยผู้หญิงสองปีและผู้ชายสามปี
ระหว่างการเป็นทหารนั้นพวกเขาจะรับการฝึกฝนและเตรียมชีวิตสำหรับการเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชาติไปด้วย ทั้งทางด้านบุคลิกภาพ แนวคิด อุดมการณ์
รวมทั้งการฝึกฝนทางวิชาชีพที่พวกเขาจะทำงานในอนาคต โดยเฉพาะเรื่องการระดมความคิด การพัฒนาทางเทคโนโลยีใหม่ๆ
หลายคนได้ค้นพบจุดหมายของชีวิตจากการเป็นทหารของพวกเขานั่นเอง ดังนั้น
การเป็นทหารของชาวยิวจึงเป็นเรื่องที่จะสร้างชีวิตและสร้างชาติอย่างแท้จริง
ไม่น่ากลัวหรือหาทางหลบหนีอย่างที่บ้านเราเป็นกันอยู่
(เขาว่ากันอย่างนั้น) จึงไม่แปลกที่ผมสังเกตเห็นนักศึกษาหนุ่มสาวใส่ชุดทหารที่มีสีต่างจากพลทหารเล็กน้อยเดินไปตามสถานที่ต่างๆ
ด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้มอย่างปกติสุข อย่างกับไม่มีสงครามท่ามกลางพวกเขาเลย
ทั้งที่วันก่อนหน้าที่คณะของเราเดินทางมาถึงสนามบินเทลอาวีฟ (Tel
Aviv) และมีแผนจะไปเมืองเบเออร์เชบาเป็นลำดับแรก
ตามแผนจากใต้สุดสู่เหนือสุดของอิสราเอล คือ “จากเบเออร์เชบา ถึง ดาน”
แต่ต้องเลี่ยงไปทางอื่นเพราะมีการยิงถล่มในบริเวณฉนวนกาซาในวันนั้นพอดี ข่าวว่ามีคนตายหลายคน
จึงขอบคุณพระเจ้าที่พวกเรายังปลอดภัย ในขณะหลายคนในไทยแสดงความเป็นห่วงว่าเราจะเป็นอย่างไร คุยกันเล่นๆ ว่านี่ถ้าเกิดอะไรขึ้นจริง
หมายถึงผู้นำแบ๊บติสต์ไทยทั่วประเทศร้อยกว่าคนเชียวนะครับ... ! แต่พระเจ้ายังเมตตานำพาพวกเราอย่างปลอดภัยในท่ามกลางหุบเขาเงามัจจุราชเสมอ
ตั้งใจจะเล่าเรื่องเมืองเฮโบรน
พาวนไปหลายเรื่องเนื่องจากประทับใจมิรู้ลืม
นี่วางแผนว่าจะกลับไปเขียนที่ไทยเพราะในขณะนี้ผมยังมีงานรับใช้ในอเมริกาชั่วคราว
แต่อดใจไม่ไหว เพราะเวลากินเวลานอน เวลาทำงานมันกลับด้านกันในสมองของผมอยู่
จึงลุกขึ้นมาระบายความในใจในประสบการณ์ที่อิสราเอลกันอีกครั้ง ยังอยู่ที่เมืองเฮโบรนนะครับ ! ไกด์และล่ามต้องเรียกจากไมค์โครโฟนมาถึงหูฟังของเราอยู่เสมอว่าให้มารวมตัวกันที่ใต้ร่มไม้ก่อน
เพื่อฟังคำอธิบายถึงระเบียบและขั้นตอนการเข้าไปในสถานที่สำคัญทางความเชื่อ
ที่ขณะนี้มีหลายภาคส่วนที่ร่วมกันใช้และควบคุมอยู่ เช่น คนยิวที่เป็นลัทธิยูดาย
และคนยิวลัทธิอื่นๆ รวมทั้งคริสเตียนหลายนิกายที่หลั่งไหลมาชมสถานที่เหล่านี้ด้วย หลายคนมัวแต่แวะถ่ายรูปนั่นนิดนี่หน่อย
บางคนยังรอคิวเข้าห้องน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัด ซึ่งไม่รู้เป็นยังไง
รถจอดคราใดทำให้อยากเข้าห้องน้ำทุกที...
หลังจากจับปู (ผู้นำ) ใส่กระด้ง
ได้แล้วก็ทำตามธรรมเนียมสากลก่อนคือถ่ายรูปหมู่ และก็หมู่ กันอีกหลายๆ ช็อต อาจารย์อนุชา อาจารย์วินิจ
รวมทั้งผู้นำคณะท่องเที่ยวเบธเอลทัวร์ช่วยให้เรามีภาพแห่งประวัติศาสตร์กันทุกแห่งที่ไปถึง ผมเองก็ได้อานิสงส์จากภาพถ่ายเหล่านั้นมาเก็บไว้เช่นกัน
ขอขอบคุณเจ้าของภาพทุกท่านมา ณ ที่นี่ด้วยครับ
สุดท้ายก็เข้าชมวิหารแห่งเมืองเฮโบรน ( Hebron) จนได้ เป็นวิหารใหญ่ตระหง่านตา อยู่ทางตอนใต้ของเยรูซาเล็มประมาณสามสิบสองกิโลเมตร เล่ากันว่ากษัตริย์เฮโรดผู้ยิ่งใหญ่ได้บัญชาให้สร้างขึ้น สังเกตจากสถาปัตยกรรมที่เป็นแบบเดียวกันกับวิหารทุกแห่งที่เฮโรดสร้างไว้ เพียงแต่จะใหญ่หรือเล็กเท่านั้น แต่รูปแบบเหมือนกันหมด ทั้งวิหารในกรุงเยรูซาเล็มและที่เฮโบรนด้วย คือมีลักษณะทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า และมีโดมทรงโรมันอยู่ส่วนหัวและท้าย กล่าวกันว่า วิหารที่เฮโบรนนี้สร้างเพื่อครอบหลุมฝังศพของอับราฮัมและครอบครัวซึ่งเป็นบรรพบุรุษบุคคลสำคัญของชาวยิว คือ ฮับราฮัมและซาราห์ อิสอัคและ เรเบคาห์ ยาโคบและเรอาห์ เป็นถ้ำและที่นามัค-เปลาห์ ที่อับราฮัมซื้อจากคนฮิตไทต์เพื่อฝังศพนางซาราห์ และต่อมาก็ตัวท่านเอง และลูกหลานตามมานั่นเอง (ปฐก.23, 25.7-11, 49.29-32) มีบางคนคาดว่ากระดูกของโยเซฟอาจถูกย้ายมาจากเมืองเชเคมนำมาฝังที่นี่ด้วยก็ได้ แต่ก็มีนักประวัติศาสตร์ยืนยันว่าโยเซฟและพี่น้องน่าจะถูกฝังที่เชเคม (ศึกษาเพิ่มเติม ปฐก.50 , อพย.13.9 ยชว24, กจ.7)
สุดท้ายก็เข้าชมวิหารแห่งเมืองเฮโบรน ( Hebron) จนได้ เป็นวิหารใหญ่ตระหง่านตา อยู่ทางตอนใต้ของเยรูซาเล็มประมาณสามสิบสองกิโลเมตร เล่ากันว่ากษัตริย์เฮโรดผู้ยิ่งใหญ่ได้บัญชาให้สร้างขึ้น สังเกตจากสถาปัตยกรรมที่เป็นแบบเดียวกันกับวิหารทุกแห่งที่เฮโรดสร้างไว้ เพียงแต่จะใหญ่หรือเล็กเท่านั้น แต่รูปแบบเหมือนกันหมด ทั้งวิหารในกรุงเยรูซาเล็มและที่เฮโบรนด้วย คือมีลักษณะทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า และมีโดมทรงโรมันอยู่ส่วนหัวและท้าย กล่าวกันว่า วิหารที่เฮโบรนนี้สร้างเพื่อครอบหลุมฝังศพของอับราฮัมและครอบครัวซึ่งเป็นบรรพบุรุษบุคคลสำคัญของชาวยิว คือ ฮับราฮัมและซาราห์ อิสอัคและ เรเบคาห์ ยาโคบและเรอาห์ เป็นถ้ำและที่นามัค-เปลาห์ ที่อับราฮัมซื้อจากคนฮิตไทต์เพื่อฝังศพนางซาราห์ และต่อมาก็ตัวท่านเอง และลูกหลานตามมานั่นเอง (ปฐก.23, 25.7-11, 49.29-32) มีบางคนคาดว่ากระดูกของโยเซฟอาจถูกย้ายมาจากเมืองเชเคมนำมาฝังที่นี่ด้วยก็ได้ แต่ก็มีนักประวัติศาสตร์ยืนยันว่าโยเซฟและพี่น้องน่าจะถูกฝังที่เชเคม (ศึกษาเพิ่มเติม ปฐก.50 , อพย.13.9 ยชว24, กจ.7)
และสถานที่นี่เองที่ดาวิด
มาแสดงตัวเป็นกษัตริย์และใช้เป็นเมืองหลวงในการปกครองช่วงแรกอยู่ที่นี่ถึงเจ็ดปีครึ่ง
(2ซมอ.5.1-5)
ณ เมืองเฮโบรน Hebron
ที่ฝังศพ(กระดูก)คนของพระเจ้า
(น่าคิดว่า He - Bron พ้องเสียงกับคำว่า
Bone:กระดูก ผมคิดเล่นๆว่าเมือง เฮ..โบรน คือเมืองที่กระดูกโห่ร้อง
คือยังมีชีวิตอยู่ คิดถึงพระธรรมเอเสเคียล 37 ที่พระเจ้าสามารถชุบกระดูกแห้งให้เป็นชีวิตขึ้นมาได้
ขอผู้รู้อธิบายรากศัพท์ให้ด้วยครับ)
เรามีความเชื่อว่า แม้ว่าพวกเขาตายไปแล้ว แต่จะยังมีชีวิตอยู่ เพราะพระเจ้าที่เราเชื่อนั้นเป็นพระเจ้าแห่งชีวิต เป็นผู้ทรงพระชนม์อยู่เสมอ ดังนั้น เวลาที่อ่านพระคัมภีร์ทั้งพันธสัญญาเดิมและใหม่หลายครั้งกล่าวว่า “พระเยโฮวาห์ทรงเป็นพระเจ้าของอับราฮัม อิสอัค และยาโคบ” หมายถึงทั้งพระเจ้าและคนของพระองค์นั้นยังมีชีวิตอยู่เสมอ (อพย.2.5 ยน.8 กจ.3,7)
เรามีความเชื่อว่า แม้ว่าพวกเขาตายไปแล้ว แต่จะยังมีชีวิตอยู่ เพราะพระเจ้าที่เราเชื่อนั้นเป็นพระเจ้าแห่งชีวิต เป็นผู้ทรงพระชนม์อยู่เสมอ ดังนั้น เวลาที่อ่านพระคัมภีร์ทั้งพันธสัญญาเดิมและใหม่หลายครั้งกล่าวว่า “พระเยโฮวาห์ทรงเป็นพระเจ้าของอับราฮัม อิสอัค และยาโคบ” หมายถึงทั้งพระเจ้าและคนของพระองค์นั้นยังมีชีวิตอยู่เสมอ (อพย.2.5 ยน.8 กจ.3,7)
พระเยซูคริสต์ตรัสว่า “เราเป็นเหตุให้คนทั้งปวงเป็นขึ้นและมีชีวิต ผู้ที่วางใจในเรานั้น ถึงแม้ว่าเขาตายแล้วก็ยังจะมีชีวิตอีก (ยน.11.25)